ประวัติของหมอนขิด

เมื่อเดินทางไปภาคอีสานส่วนมากจะนิยมเลือกซื้อหมอนขิดเป็นของขวัญของฝากให้กับญาติ เพื่อน หรือเก็บไว้ใช้เอง หมอนขิดคือการทอผ้าซึ่งเป็นงานหัตถกรรมที่สำคัญของชาวอีสานที่มีความผูกพันกับคติความเชื่อของชาวอีสานมาช้านาน ดังจะเห็นได้จาก “ผ้าขิด” ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการทำหมอนขิด เป็นผ้าที่มีชื่อเป็นที่รู้จักกันดีของคนทั่วไป
ผ้าขิดเป็นผ้าที่ต้องใช้ฝีมือและความชำนาญ รวมถึงความสามารถในการทอสูงกว่าผ้าชนิดอื่น ๆ ชาวอีสานถือว่าผ้าขิดเป็นของสูง จึงมักจะทอใช้ในโอกาสที่เป็นมงคลหรืองานพิธี หมอนขิด เป็นภูมิปัญญาของอีสานที่สะสม ที่มีมาตั้งแต่ในอดีตเป็นการรักษาวัฒนธรรมทางหัตถกรรมของภาคอีสานไว้ได้อย่างดีเยี่ยม
เมื่อได้นำมา ประยุกต์เข้ากับศิลปะปัจจุบันตลอดจนประโยชน์ใช้สอยได้อย่างกลมกลืนตามสมัยนิยม ชาวอีสานในอดีตประกอบอาชีพหลัก ทางการเกษตร มีการปลูกข้าวเพื่อยังชีพ เลี้ยงสัตว์เป็นอาหาร ถ้าว่างจากการทำไร่ ทำนา ผู้ชายจะสานตะกร้า บุ้งกี๋ กระบุง ฯลฯ ไว้ใช้ในครัวเรือน หรือเอาไว้ใช้ในฤดูกาลทำนาในปีต่อไป
ส่วนมากผู้หญิงก็จะเย็บปักถักร้อย มีการปลูกฝ้ายเก็บดอกฝ้ายมาปั่นทำผ้าห่ม ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและ นำมาทอเป็นผืนผ้าไหมเพื่อได้นุ่งห่ม มีทั้งทอผ้าพื้นสำหรับตัดเสื้อผ้า หรือทำที่นอน ทอผ้าขาวม้า ทอผ้าลายมัดหมี่ และทอผ้าลายขิด สำหรับผ้าลายขิดจะใช้ทำหมอน ซึ่งการทำหมอนขิด เกิดขึ้นมาพร้อมกับวิถีชีวิตของชาวนาชนบท เพลงชาติไทย

ใส่ความเห็น